พื้นฐานของ
ทฤษฎีพหุปัญญา
วิธีการสอนเพื่อพัฒนาปัญญาหลายด้าน
“เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งยวดที่เราควรรู้จักและส่งเสริมความฉลาดนานาชนิดของมนุษย์
ที่มนุษย์มีความแตกต่างก็เพราะเรามีความฉลาดแตกต่างกัน ถ้าเรายอมรับเช่นนี้แล้วเราจะสามารถแก้ปัญหาที่เราประสบในโลกนี้ได้มากขึ้น
เฮาวาร์ด การ์ดเนอร์ (1987)
เมื่อปี ค.ศ. 1904 (พ.ศ.2477) กระทรวงศึกษาธิการในเมืองปารีสได้ขอร้องให้นักจิตวิทยาชาวฝรั่งเศสชื่อ อัลเฟรดบิเนท์ (Alfred Bainet)
และคณะทำการพัฒนาเครื่องมือกำหนดนักเรียนประถมศึกษาที่มีความเสี่ยงต่อความสอบตก
เพื่อหาการแก้ไขจากการพัฒนาเครื่องมือนี้ทำให้เกิดแบบทดสอบเชาว์ปัญญาขึ้นเป็นอันดับแรกของโลก
หลายปีต่อมาจึงแพร่เข้าไปในสหรัฐอเมริกาและใช้กันอย่าง
แพร่หลายจนเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบันว่า
“ เชาว์ปัญญา” และทดสอบไอคิว (IQ) หรือแบบทดสอบเชาว์ปัญญา
เกือบแปดสิบปีหลังจากที่มีแบบทดสอบเชาว์ปัญญาฉบับแรก
นักจิตวิทยาชาวอเมริกันแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
ชื่อ เฮาวาร์ การ์ดเนอร์
ได้ประกาศว่า โลกของเราตีความหมายของความฉลาด หรือ เชาว์ปัญญา หรือสติปัญญาแคบไป การ์ดเนอร์เสนอในหนังสือชื่อ “ขอบเขตของจิต” ( Frames
of mind) เมื่อปี พ.ศ. 2526( Grarner,1983) ว่าความฉลาดหรือเชาว์ปัญญาของมนุษย์ นี้มีอย่างน้อย 7 ด้าน การด์เนอร์ เรียกทฤษฎี ของเขาว่า
“ ทฤษฎี
พหุปัญญา ”
(Theory of
Multple lntellikjgence -M.l. ) การ์ดเนอร์ต้องการจะรู้จักขอบเขตศักยภาพ
ของความสามารถของมนุษย์ ที่นอกเหนือไปจาก คะแนนแบบทดสอบ เชาว์ปัญญา
เขาตั้งข้อสงสัย ถึงความเชื่อถือได้
ของแบบทดสอบเชาว์ปัญญาแบบต่างๆที่ดึงคนออกจากสิ่งแวดล้อม ตามธรรมชาติ
และให้ทำหรือตอบเรื่องราวต่างๆที่ไม่เคยทำ
การ์ดเนอร์ บอกว่าความฉลาด
หรือเชาว์ปัญญาหน้าจะเกี่ยวกับความสามารถใน1) การแก้ปัญหา และ2) การออกแบบผลผลิตที่ทันสมัยในธรรมชาติ
ปัญญาเจ็ดด้าน
การ์ดเนอร์จำแนกความสามารถหรือปัญญา( intelligence) ของมนุษย์ออกเป็น 7ด้านคือ
1. ปัญญาภาษา (
linguistic lntelligence) คือมีความสามารถสูงในการใช้ภาษา ไม่ว่าจะเป็นการพูด เช่น นักเล่านิทาน นักพูด นักการเมืองหรือการการเขียน เช่น
บทกวี นักเขียนบทละคร บรรณาธิการ
นักหนังสือพิมพ์ ปัญญาในด้านนี้
ยังรวมถึงความสามารถ ในการจัดกระทำ เกี่ยวกับโครงสร้าง ภาษา เสียง
ความหมาย และเรื่องเกี่ยวกับภาษา เช่น สามารถใช้ภาษาในการหว่านล้อม อธิบายและอื่นๆ
2.
) ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ (logical-Mathemathematicai lntelligence) เป็นความสามารถสูงในการใช้ตัวเลข เช่น
นักบัญชื นักคณิตศาสตร์ นักสถิติ
และผู้ให้เหตุผลดี เช่น
นักวิทยาศาสตร์ นักตรรกศาสตร์ นักจัดทำโปรแกรม โปรแกรม คอมพิวเตอร์ ปัญญาในด้านนี้ ยังรวมถึง ความไว ในการเห็นความสัมพันธ์ แบบแผนตรรกวิทยา การคิดเชิง นามธรรม และการคิดที่เป็นเหตุ เป็นผล (
Cause-effect)และการคิดคาดการณ์ (if-them)
วิธีการที่ใช้ได้ แก่การจำแนกประเภท การจัดหมวดหมู่ การสันนิษฐาน
สรุป คิด คำนวณ และตั้งสมมุติฐาน
3.) ปัญญาทางด้าน มิติ (Spatial lntelligence)
คือมีความสามารถสูง ในการมองเห็น พื้นที่ ได้แก่
นายพราน ลูกเสือ ผู้นำทาง
และสมารถปรับปรุง และคิด วิธี การใช้เนื้อหาที่ดี เช่น
สถาปนิก มัณฑนากร ศิลปิน นักประดิษฐ์ ปัญญาด้านนี้ รวมไปถึง ความไวต่อสี เส้นรูปร่าง
เนื้อที่ และความสัมพันธ์ ระหว่าง สิ่ง เหล่านี้นอกจากนี้ ยังหมายถึงความสามรถ ที่จะมองเห็น และแสดง
ออกเป็นรูปร่าง ถึงสิ่งที่เห็น และความคิดเกี่ยวกับพื้นที่
4.) ปัญญาทางด้านร่างกาย
และการเคลื่อนไหว (Bodily-Kinesthetic lntelligence) คือ มีความสามารถสูงในการ ใช้ร่างกายของตนแสดง
ความคิดความรู้สึก ได้แก่ นักแสดง
นักแสดง ใบ้ นักกีฬา นักฟ้อนรำ
และความสามรถ ในการใช้เครื่องมือประดิษฐ์
เช่น นักปั้น ช่างแก้รถ ยนตร์ ศัลยแพทย์
ปัญญาด้านนี้ รวมถึง ทักษะทาง กาย เช่นความคล่องแคล่ว ความแข็งแรง ความรวดเร็ว ความยืดหยุ่น
ความประณีต และความทางประสาทสัมผัส
5. )ปัญญา ทางด้านดนตรี (Musical lnterlligence)คือมีความสามารถ
สูงทางด้าน ดนตรี ได้แก่ นักดนตรี
นักแต่งเพลง นักวิจารณ์ ดนตรี ปัญญาทางด้านนี้ รวมถึง
ความไวในเรื่องของจังหวะ ทำนองเสียง ตลอดจนความสามารถ ในการเข้าใจและวิเคราะห์ดนตรี
6.)ปัญญาทางด้านมนุษย์สัมพันธ์(Interpersonal lntelligence)คือมีความสามารถสูงในการเข้าใจ อารมณ์
ความรู้สึก ความคิดและเจตนาของผู้อื่นทั้งนี้รวมถึงมีความไวในการสัง เกต น้ำเสียง ใบหน้า ท่าทาง
ทั้งยังมีความสามารถสูงในการรู้ถึง ลักษณะต่างๆของสัมพันธ์ภาพของมนุษย์
และความสามารถตอบสนองได้เหมาะสม และมีประสิทธภาพ เช่น สามารถทำให้บุคคลหรือกลุ่ม บุคคล ปฎิบัติตาม
7. )ปัญญาทางด้านตนหรือการเข้าใจตนเอง (lntrapersonal
lntelligence)คือมีความสามารถสูงในการรู้จักตนเอง และสามารถประพฤติตนได้ จากความรู้จักตนนี้ ความสามารถในการรู้จักตนได้แก่ รู้จักจุดอ่อนตามความเป็นจริง เช่น
มีจุดอ่อน จุดแข็งเรื่องใด มีความรู้เท่าทันอารมณ์ ความคิด ความปรารถนาของตน
มีความสามารถที่จะฝึกตนเอง
เข้าใจตนเองและความนับถือตนเอง
พื้นฐานทางทฤษฎีพหุปัญญา
คนส่วนมากมักสงสัยว่า ทำไมการด์เนอร์ จึงจัดความสมารถ
ทางดนตรีพื้นที่ร่างกายการเคลื่อนไหว ให้เป็นปํญญาชนิดหนึ่ง แทนที่จะเป็น “ความถนัด”หรือ “ความสามารถเฉพาะด้าน” การ์ดเนอร์เข้าใจดีว่า
เรามักจะชินกับคำว่า” เขาเป็นคนไม่ฉลาดหรอก แต่เขามีความสามารถพิเศษทางด้านตนตรี” การ์ดเนอร์ ยืนยันว่า ความสา
มารถพิเศษต่างๆเหล่านี้เป็นปัญญาเฉพาะด้าน
โดยเขามีเกณฑ์ พิจารณาดังต่อไปนี้
ปัญญามีลักษณะเฉพาะด้าน
จากการศึกษาเรื่องสมอง ระหว่าที่การด์เนอร์ทำงานกับองค์กรทหารผ่านศึกแห่งเมืองบอสตัน เขาพบว่า บุคคลที่ประสบอุบัติเหตุด้านหน้าซ้าย
ที่เรียกว่า บริเวณ โบรคา (Broca
ares)ซึ่งเป็นด้านของปัญญาทางภาษาถูกทำลาย ไป ปรากฏว่า
บุคคลนั้นจะมีความยากลำบากในการพูด อ่าน เขียน และการใช้ภาษาแต่เขาก็ยังร้องเพลงเต้นรำ มีความรู้สึก
และมีสัมพันธภาพกับผู้อื่นเหมือนเดิม และบุคคล
ที่สมองด้านหน้าขวาถูกทำลายก็ทำให้หมดความสามารถทางดนตรี
จากกรณีทำนองเดียวกันกับข้างต้นมีอีกหลายกรณี และจากทฤษฎี สมองซีกซ้ายขวาซึ้งเป็นที่สนใจแพร่หลายระหว่างปี
1970(พ.ศ.2513)ก็เป็นที่เชื่อได้ว่า
ปัญญาความฉลาดแต่ละด้านจะอยู่ตามที่ต่างๆของสมอง
ตัวอย่างนักปราชญ์และบุคคลที่มีความสมารถพิเศษ
นักปราชญ์หรือผู้มีความสามารถพิเศษมักจะมีความสามารถอย่างใดอย่างหนึ่งเด่นชัดออกมา
ชัดเจนประดุจภูเขาบนที่ราบ โดยความสามารถที่เด่นนั่นจะสูงเหมือนภูเขา แต่ความสามารถอื่นๆด้อยเปรียบเสมือนที่ราบ ยกตัวอย่าง ภาพยนตร์ The Rain
Man ซึ่งทำมาจากเรื่องจริง
เรย์มอนด์
ตัวเอกของเรื่องที่มีความสามารถทางคณิตศาสตร์อย่างมหัศจรรย์
แต่ปัญญาความสามารถด้านอื่น ต่ำมาก เขาใช้ภาราได้ไม่ดี ไม่มีมนุษย์สัมพันธ์ และไม่มีความสามารถในการเข้าใจตนเอง
นอกจากนี้ยังมีคนที่เด่นทางดนตรีแต่อย่างอื่นด้อย
พัฒนาการของปัญญาและผลงานสูงสุด
ความฉลาดหรือปัญญาด้านต่างๆจะเปล่งประกายในวัฒนธรรมที่ยกย่องคุณค่าและความงอกงามของปัญญาความฉลาดด้านนั้นความงอกงามของปัญญาความฉลาด
แต่ละด้านจะมีวิถีพัฒนาการต่างๆกัน
เช่นบางด้านจะเห็นได้ชัดตั้งแต่วัยเด็ก
เช่น ดนตรี โมสาร์ทสามารถแต่งเพลงตนตรีได้ตั้งแต่อายุ 4ขวบ และในขณะเดียวกัน
นักแต่งเพลง
นักดนตรีหลายคนยังมีความสามารถไปจนถึงวัยชราอายุ 80-90ปี ก็ยังสามารถแต่งดนตรี
เล่นตนตรี หรืออำนวย วงดนตรี ได้อย่างดี
ความฉลาดหรือปัญญาด้านคณิตศาสตร์จะไม่ปรากฎในวัยเยาว์มากเหมือนด้านดนตรี(เด็ก4ขวบจะยังคิดเป็นรูปธรรมอยู่) แต่ก็ปรากฏเห็นชัดในตอนอายุวัยรุ่น
แบลส์ ปาสคาล (Blaise pascall) และคาร์ล เฟรเดอริค กอส(Karl Friedrich
Gauss)แต่นักคณิตศาสตร์ บางคนก็ถึงขั้นสูงสุดอายุประมาณ 40ปี
แต่นักประพันธ์ นักเขียนนวนิยายจะประสบความสำเร็จ
ทำงานได้ถึงขั้นสูงสุดอายุประมาณ 40-50ปี หรือมากกว่านั้น คุณยายโมเสส (Grandma Moses) เริ่มฝึกวาดภาพเมืออายุ75ปี และประสบความสำเร็จสูงสุด เปียเจต์(Piaget)ได้นำแผนผังพัฒนาการทางตรรกะและคณิตศาสตร์ว่าวัยใดจะคิดได้อย่างไร
อีริคสัน(Erikson)คิดทฤษฎีหรือแผนผังพัฒนาการทางมนุษยสัมพันธ์และความเข้าใจตนเอง โนม
ชอมสกี(Noam Chosky) หรือ เ ลฟว์ วีกอตสกี้ (Lev Vygotsky)คิดแผนผังพัฒนาทางภาษา
ซึ่งในแผนผังจะสรุปพัฒนาการของปัญญาแต่ละด้านไว้
การ์ดเนอร์(Gardner,1993)กล่าวว่า เราจะทราบขั้นสูงสุดของปัญญาแต่ละด้านจากผลงานของผู้นั้น เช่น เบโธเฟนกับผลงานกับผลงานซิมโฟนี “อีโรอิคา”(Eroical)โปรดดูแผนภูมิที่สรุปผลงานสูงสุดของปัญญาแต่ละด้าน
ปัญญาแต่ละด้านมีประวัติวิวัฒนาการอันยาวนาน การ์ดเนอร์ สรุปว่า ปัญญาแต่ละด้านมีวิวัฒนาการในช่วงระยะเวลาอันยาวนาน เช่น
ปัญญาด้านพื้นที่(Spatial
intelligence)จะเห็นจากภาพเขียนในถ้ำก่อนประวัติศาสตร์ ปัญญาทางด้านพื้นที่นี้ได้จากเครื่องมือในสมัยก่อนประวัติศาสตร์
ปัญญาด้านหนึ่งจะเป็นที่ยกย่องในสมัยหนึ่ง แต่อาจจะลดลงในอีกสมัยหนึ่ง เช่น ปัญญาทางด้านร่างกายและการเคลื่อนไหวเคยเป็นที่ยกย่องมากเมื่อร้อยกว่าปีในอเมริกา เพราะในสมัยนั้น อเมริกาเป็นสังคมเกษตรชนบท
ความสามารถในการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวต้องอาศัยพละกำลังที่แข็งแรง
ในอนาคต ปัญญาบางด้านอาจจะเป็นที่ยกย่อง
เช่นในยุคข้าวสาร ปัจจุบันมีการใช้โทรทัศน์
วีดีทัศน์ คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีทางการสื่อสาร
ข้อสนับสนุน
จากแบบทดสอบทางจิตวิทยา ถึงแม้
การ์ดเนอร์ไม่สู้จะเห็นด้วยกับแบบทดสอบมาตรฐานขณะนี้
แต่เขากล่าวว่าแบบทดสอบมาตรฐานปัจจุบันอาจจะทดสอบความฉลาดหรือปัญญาบางด้านได้ เช่น
แบบทดสอบเชาวน์ปัญญาสำหรับเด็กของ
เวคสเลอร์(Wechsler
Intelligence for children)ซึ่งมีแบบทดสอบย่อยทางภาษา(คำศัพท์ข้อมูล) ทางตรรกะและคณิตศาสตร์ (เลขคณิต)ด้านพื้นที่(การจัดรูปภาพ)
ด้านร่างกาย(การจัดสิ่งของ)แบบทดสอบวัดปัญญาทางด้านมนุษยสัมพันธ์และความเข้าใจตนอาจจะใช้
Vineland Society Maturity
Scale และ The
Coppersmith Self-Esteem Inventory
การสำรวจแบบทดสอบมาตรฐานที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อทดสอบปัญญาทั้ง 7ด้านนี้
ข้อสนับสนุนจากงานจิตวิทยาทดลอง จากการศึกษาทางจิตวิทยาการทดลองพบว่า
ปัญญาความฉลาดแต่ละด้านจะอย่แยกกัน เช่น
บุคคลที่อ่านหนังสือได้เก่งแต่ไม่สามารถถ่ายโอนความสามารถนี้ไปยังคณิตศาสตร์ได้
หรือบางคนมีความจำดีในเรื่องคำพูดและภาษา แต่จะจำหน้าคนไม่ได้เลย
หรือบางคนมีความสามารถทางดนตรีมีความไวต่อเสียงดนตรี แต่ถนัดหรือไวต่อเสียงพูด ดังนั้น มนุษย์แต่ละคนมีความสามารถต่างกันในด้านต่างๆ
มีขุดความสามารถในการกระทำของปัญญาแต่ละด้าน การ์ดเนอร์ กล่าวว่า
ปัญญาแต่ละด้านจะมีชุดความสามารถของตนเอง เช่น
ปัญญาทางดนตรีจะมีความสามารถซึ่งทำให้เกิดความไวต่อจังหวะ เสียง ทำนอง หรือปัญญาทางด้านร่างกาย –การเคลื่อนไหวจะมีชุดความสามารถที่จะเลียนแบบการเคลื่อนไหวของผู้อื่น
ปัญญาแต่ละด้านสามารถมีระบบสัญลักษณ์มีระบบสัญลักษณ์ของตน การ์เนอร์กล่าวว่า
เครื่องบ่งชี้ที่แสดงความแตกต่างระหว่างคนกับสัตว์ชนิดอื่นคือคน ซึ่งสามารถสร้างสัญลักษณ์และปัญญา
แต่ละด้านจะมีสัญลักษณ์ของตนเอง