วิธีการสอนเพื่อพัฒนาปัญญาหลายด้าน

พื้นฐานของ
ทฤษฎีพหุปัญญา
วิธีการสอนเพื่อพัฒนาปัญญาหลายด้าน
เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งยวดที่เราควรรู้จักและส่งเสริมความฉลาดนานาชนิดของมนุษย์   ที่มนุษย์มีความแตกต่างก็เพราะเรามีความฉลาดแตกต่างกัน   ถ้าเรายอมรับเช่นนี้แล้วเราจะสามารถแก้ปัญหาที่เราประสบในโลกนี้ได้มากขึ้น
                                                                                                                เฮาวาร์ด    การ์ดเนอร์  (1987)
เมื่อปี   ค.ศ.  1904 (พ.ศ.2477) กระทรวงศึกษาธิการในเมืองปารีสได้ขอร้องให้นักจิตวิทยาชาวฝรั่งเศสชื่อ  อัลเฟรดบิเนท์ (Alfred  Bainet)  และคณะทำการพัฒนาเครื่องมือกำหนดนักเรียนประถมศึกษาที่มีความเสี่ยงต่อความสอบตก   เพื่อหาการแก้ไขจากการพัฒนาเครื่องมือนี้ทำให้เกิดแบบทดสอบเชาว์ปัญญาขึ้นเป็นอันดับแรกของโลก   หลายปีต่อมาจึงแพร่เข้าไปในสหรัฐอเมริกาและใช้กันอย่าง แพร่หลายจนเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบันว่า   เชาว์ปัญญาและทดสอบไอคิว (IQ)  หรือแบบทดสอบเชาว์ปัญญา
เกือบแปดสิบปีหลังจากที่มีแบบทดสอบเชาว์ปัญญาฉบับแรก นักจิตวิทยาชาวอเมริกันแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด  ชื่อ เฮาวาร์   การ์ดเนอร์ ได้ประกาศว่า  โลกของเราตีความหมายของความฉลาด  หรือ เชาว์ปัญญา  หรือสติปัญญาแคบไป  การ์ดเนอร์เสนอในหนังสือชื่อขอบเขตของจิต”  (  Frames  of  mind)  เมื่อปี  พ.. 2526( Grarner,1983)  ว่าความฉลาดหรือเชาว์ปัญญาของมนุษย์ นี้มีอย่างน้อย 7 ด้าน การด์เนอร์ เรียกทฤษฎี ของเขาว่า  “    ทฤษฎี พหุปัญญา
(Theory  of  Multple  lntellikjgence  -M.l. ) การ์ดเนอร์ต้องการจะรู้จักขอบเขตศักยภาพ ของความสามารถของมนุษย์ ที่นอกเหนือไปจาก คะแนนแบบทดสอบ เชาว์ปัญญา เขาตั้งข้อสงสัย ถึงความเชื่อถือได้ ของแบบทดสอบเชาว์ปัญญาแบบต่างๆที่ดึงคนออกจากสิ่งแวดล้อม ตามธรรมชาติ และให้ทำหรือตอบเรื่องราวต่างๆที่ไม่เคยทำ  การ์ดเนอร์ บอกว่าความฉลาด  หรือเชาว์ปัญญาหน้าจะเกี่ยวกับความสามารถใน1)  การแก้ปัญหา  และ2) การออกแบบผลผลิตที่ทันสมัยในธรรมชาติ

                                                          อ้างอิง

ผู้แต่ง อาร์สตรอง,โธมัส.
ชื่อเรื่อง  พหุปัญญาในห้องเรียน:วิธีการสอนเพื่อพัฒนาปัญญาหลายด้าน
กรุงเทพฯ:ศูนย์พัฒนาหนังสือ  กรมวิชาการ, 2542


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น