พื้นฐานทางทฤษฎีพหุปัญญา

คนส่วนมากมักสงสัยว่า  ทำไมการด์เนอร์ จึงจัดความสมารถ ทางดนตรีพื้นที่ร่างกายการเคลื่อนไหว ให้เป็นปํญญาชนิดหนึ่ง แทนที่จะเป็น  ความถนัดหรือความสามารถเฉพาะด้านการ์ดเนอร์เข้าใจดีว่า เรามักจะชินกับคำว่า เขาเป็นคนไม่ฉลาดหรอก  แต่เขามีความสามารถพิเศษทางด้านตนตรี”  การ์ดเนอร์ ยืนยันว่า ความสา มารถพิเศษต่างๆเหล่านี้เป็นปัญญาเฉพาะด้าน  โดยเขามีเกณฑ์ พิจารณาดังต่อไปนี้
ปัญญามีลักษณะเฉพาะด้าน จากการศึกษาเรื่องสมอง  ระหว่าที่การด์เนอร์ทำงานกับองค์กรทหารผ่านศึกแห่งเมืองบอสตัน  เขาพบว่า บุคคลที่ประสบอุบัติเหตุด้านหน้าซ้าย ที่เรียกว่า บริเวณ โบรคา (Broca  ares)ซึ่งเป็นด้านของปัญญาทางภาษาถูกทำลาย ไป ปรากฏว่า บุคคลนั้นจะมีความยากลำบากในการพูด อ่าน เขียน และการใช้ภาษาแต่เขาก็ยังร้องเพลงเต้นรำ  มีความรู้สึก และมีสัมพันธภาพกับผู้อื่นเหมือนเดิม และบุคคล ที่สมองด้านหน้าขวาถูกทำลายก็ทำให้หมดความสามารถทางดนตรี
จากกรณีทำนองเดียวกันกับข้างต้นมีอีกหลายกรณี  และจากทฤษฎี สมองซีกซ้ายขวาซึ้งเป็นที่สนใจแพร่หลายระหว่างปี  1970(..2513)ก็เป็นที่เชื่อได้ว่า  ปัญญาความฉลาดแต่ละด้านจะอยู่ตามที่ต่างๆของสมอง
ตัวอย่างนักปราชญ์และบุคคลที่มีความสมารถพิเศษ  นักปราชญ์หรือผู้มีความสามารถพิเศษมักจะมีความสามารถอย่างใดอย่างหนึ่งเด่น ชัดออกมา ชัดเจนประดุจภูเขาบนที่ราบ โดยความสามารถที่เด่นนั่นจะสูงเหมือนภูเขา  แต่ความสามารถอื่นๆด้อยเปรียบเสมือนที่ราบ  ยกตัวอย่าง ภาพยนตร์   The  Rain  Man  ซึ่งทำมาจากเรื่องจริง  เรย์มอนด์ ตัวเอกของเรื่องที่มีความสามารถทางคณิตศาสตร์อย่างมหัศจรรย์ แต่ปัญญาความสามารถด้านอื่น ต่ำมาก เขาใช้ภาราได้ไม่ดี  ไม่มีมนุษย์สัมพันธ์  และไม่มีความสามารถในการเข้าใจตนเอง นอกจากนี้ยังมีคนที่เด่นทางดนตรีแต่อย่างอื่นด้อย
พัฒนาการของปัญญาและผลงานสูงสุด   ความฉลาดหรือปัญญาด้านต่างๆจะเปล่งประกายในวัฒนธรรมที่ยกย่องคุณค่าและความงอกงามของปัญญาความฉลาดด้านนั้นความงอกงามของปัญญาความฉลาด แต่ละด้านจะมีวิถีพัฒนาการต่างๆกัน   เช่นบางด้านจะเห็นได้ชัดตั้งแต่วัยเด็ก  เช่น ดนตรี   โมสาร์ทสามารถแต่งเพลงตนตรีได้ตั้งแต่อายุ 4ขวบ และในขณะเดียวกัน   นักแต่งเพลง  นักดนตรีหลายคนยังมีความสามารถไปจนถึงวัยชราอายุ 80-90ปี  ก็ยังสามารถแต่งดนตรี เล่นตนตรี  หรืออำนวย วงดนตรี ได้อย่างดี
ความฉลาดหรือปัญญาด้านคณิตศาสตร์จะไม่ปรากฎในวัยเยาว์มากเหมือนด้านดนตรี(เด็ก4ขวบจะยังคิดเป็นรูปธรรมอยู่) แต่ก็ปรากฏเห็นชัดในตอนอายุวัยรุ่น  แบลส์   ปาสคาล (Blaise  pascall) และคาร์ล  เฟรเดอริค กอส(Karl  Friedrich  Gauss)แต่นักคณิตศาสตร์ บางคนก็ถึงขั้นสูงสุดอายุประมาณ   40ปี
แต่นักประพันธ์  นักเขียนนวนิยายจะประสบความสำเร็จ ทำงานได้ถึงขั้นสูงสุดอายุประมาณ  40-50ปี หรือมากกว่านั้น  คุณยายโมเสส (Grandma  Moses) เริ่มฝึกวาดภาพเมืออายุ75ปี  และประสบความสำเร็จสูงสุด  เปียเจต์(Piaget)ได้นำแผนผังพัฒนาการทางตรรกะและคณิตศาสตร์ว่าวัยใดจะคิดได้อย่างไร อีริคสัน(Erikson)คิดทฤษฎีหรือแผนผังพัฒนาการทางมนุษยสัมพันธ์และความเข้าใจตนเอง  โนม    ชอมสกี(Noam   Chosky) หรือ  เ ลฟว์   วีกอตสกี้ (Lev  Vygotsky)คิดแผนผังพัฒนาทางภาษา  ซึ่งในแผนผังจะสรุปพัฒนาการของปัญญาแต่ละด้านไว้
การ์ดเนอร์(Gardner,1993)กล่าวว่า เราจะทราบขั้นสูงสุดของปัญญาแต่ละด้านจากผลงานของผู้นั้น เช่น    เบโธเฟนกับผลงานกับผลงานซิมโฟนี  “อีโรอิคา”(Eroical)โปรดดูแผนภูมิที่สรุปผลงานสูงสุดของปัญญาแต่ละด้าน
ปัญญาแต่ละด้านมีประวัติวิวัฒนาการอันยาวนาน  การ์ดเนอร์ สรุปว่า  ปัญญาแต่ละด้านมีวิวัฒนาการในช่วงระยะเวลาอันยาวนาน  เช่น  ปัญญาด้านพื้นที่(Spatial    intelligence)จะเห็นจากภาพเขียนในถ้ำก่อนประวัติศาสตร์   ปัญญาทางด้านพื้นที่นี้ได้จากเครื่องมือในสมัยก่อนประวัติศาสตร์
ปัญญา ด้านหนึ่งจะเป็นที่ยกย่องในสมัยหนึ่ง  แต่อาจจะลดลงในอีกสมัยหนึ่ง เช่น  ปัญญาทางด้านร่างกายและการเคลื่อนไหวเคยเป็นที่ยกย่องมากเมื่อร้อยกว่าปีใน อเมริกา   เพราะในสมัยนั้น    อเมริกาเป็นสังคมเกษตรชนบท  ความสามารถในการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวต้องอาศัยพละกำลังที่แข็งแรง ในอนาคต  ปัญญาบางด้านอาจจะเป็นที่ยกย่อง เช่นในยุคข้าวสาร ปัจจุบันมีการใช้โทรทัศน์  วีดีทัศน์ คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีทางการสื่อสาร
ข้อสนับสนุน จากแบบทดสอบทางจิตวิทยา ถึงแม้ การ์ดเนอร์ไม่สู้จะเห็นด้วยกับแบบทดสอบมาตรฐานขณะนี้  แต่เขากล่าวว่าแบบทดสอบมาตรฐานปัจจุบันอาจจะทดสอบความฉลาดหรือปัญญาบางด้านได้  เช่น  แบบทดสอบเชาวน์ปัญญาสำหรับเด็กของ  เวคสเลอร์(Wechsler  Intelligence  for  children)ซึ่งมีแบบทดสอบย่อยทางภาษา(คำศัพท์ข้อมูล)  ทางตรรกะและคณิตศาสตร์ (เลขคณิต)ด้านพื้นที่(การจัดรูปภาพ) ด้านร่างกาย(การจัดสิ่งของ)แบบทดสอบวัดปัญญาทางด้านมนุษยสัมพันธ์และความเข้าใจตนอาจจะใช้ Vineland  Society  Maturity  Scale และ The  Coppersmith   Self-Esteem  Inventory     การสำรวจแบบทดสอบมาตรฐานที่มีอยู่ในปัจจุบัน  เพื่อทดสอบปัญญาทั้ง 7ด้านนี้
ข้อสนับสนุนจากงานจิตวิทยาทดลอง  จากการศึกษาทางจิตวิทยาการทดลองพบว่า ปัญญาความฉลาดแต่ละด้านจะอย่แยกกัน เช่น  บุคคลที่อ่านหนังสือได้เก่งแต่ไม่สามารถถ่ายโอนความสามารถนี้ไปยัง คณิตศาสตร์ได้ หรือบางคนมีความจำดีในเรื่องคำพูดและภาษา แต่จะจำหน้าคนไม่ได้เลย  หรือบางคนมีความสามารถทางดนตรีมีความไวต่อเสียงดนตรี  แต่ถนัดหรือไวต่อเสียงพูด  ดังนั้น มนุษย์แต่ละคนมีความสามารถต่างกันในด้านต่างๆ
มีขุดความสามารถในการกระทำของปัญญาแต่ละด้าน  การ์ดเนอร์ กล่าวว่า ปัญญาแต่ละด้านจะมีชุดความสามารถของตนเอง เช่น  ปัญญาทางดนตรีจะมีความสามารถซึ่งทำให้เกิดความไวต่อจังหวะ เสียง ทำนอง   หรือปัญญาทางด้านร่างกาย การเคลื่อนไหวจะมีชุดความสามารถที่จะเลียนแบบการเคลื่อนไหวของผู้อื่น
ปัญญาแต่ละด้านสามารถมีระบบสัญลักษณ์มีระบบสัญลักษณ์ของตน  การ์เนอร์กล่าวว่า  เครื่องบ่งชี้ที่แสดงความแตกต่างระหว่างคนกับสัตว์ชนิดอื่นคือคน  ซึ่งสามารถสร้างสัญลักษณ์และปัญญา แต่ละด้านจะมีสัญลักษณ์ของตนเอง



อ้างอิง
ผู้แต่ง อาร์สตรอง,โธมัส.
ชื่อเรื่อง  พหุปัญญาในห้องเรียน:วิธีการสอนเพื่อพัฒนาปัญญาหลายด้าน
กรุงเทพฯ:ศูนย์พัฒนาหนังสือ  กรมวิชาการ, 2542


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น