ปัญญาเจ็ดด้าน

การ์ดเนอร์จำแนกความสามารถหรือปัญญา(  intelligence) ของมนุษย์ออกเป็น  7ด้านคือ
1.  ปัญญาภาษา ( linguistic  lntelligence) คือมีความสามารถสูงในการใช้ภาษา  ไม่ว่าจะเป็นการพูด เช่น นักเล่านิทาน  นักพูด นักการเมืองหรือการการเขียน เช่น บทกวี   นักเขียนบทละคร  บรรณาธิการ  นักหนังสือพิมพ์   ปัญญาในด้านนี้ ยังรวมถึงความสามารถ ในการจัดกระทำ เกี่ยวกับโครงสร้าง ภาษา   เสียง  ความหมาย  และเรื่องเกี่ยวกับภาษา  เช่น สามารถใช้ภาษาในการหว่านล้อม  อธิบายและอื่นๆ
2. ) ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์  (logical-Mathemathematicai  lntelligence)  เป็น ความสามารถสูงในการใช้ตัวเลข  เช่น  นักบัญชื  นักคณิตศาสตร์  นักสถิติ   และผู้ให้เหตุผลดี เช่น  นักวิทยาศาสตร์  นักตรรกศาสตร์   นักจัดทำโปรแกรม โปรแกรม คอมพิวเตอร์  ปัญญาในด้านนี้ ยังรวมถึง ความไว  ในการเห็นความสัมพันธ์  แบบแผนตรรกวิทยา   การคิดเชิง นามธรรม  และการคิดที่เป็นเหตุ เป็นผล ( Cause-effect)และการคิดคาดการณ์ (if-them) วิธีการที่ใช้ได้   แก่การจำแนกประเภท   การจัดหมวดหมู่  การสันนิษฐาน   สรุป  คิด คำนวณ  และตั้งสมมุติฐาน
3.) ปัญญาทางด้าน มิติ  (Spatial  lntelligence)  คือมีความสามารถสูง ในการมองเห็น พื้นที่   ได้แก่   นายพราน  ลูกเสือ  ผู้นำทาง   และสมารถปรับปรุง และคิด วิธี การใช้เนื้อหาที่ดี   เช่น  สถาปนิก    มัณฑนากร  ศิลปิน นักประดิษฐ์   ปัญญาด้านนี้ รวมไปถึง ความไวต่อสี  เส้นรูปร่าง  เนื้อที่ และความสัมพันธ์ ระหว่าง สิ่ง เหล่านี้นอกจากนี้  ยังหมายถึงความสามรถ ที่จะมองเห็น และแสดง ออกเป็นรูปร่าง ถึงสิ่งที่เห็น และความคิดเกี่ยวกับพื้นที่
4.)  ปัญญาทางด้านร่างกาย และการเคลื่อนไหว  (Bodily-Kinesthetic  lntelligence) คือ  มีความสามารถสูงในการ ใช้ร่างกายของตนแสดง ความคิดความรู้สึก  ได้แก่  นักแสดง   นักแสดง ใบ้  นักกีฬา   นักฟ้อนรำ  และความสามรถ ในการใช้เครื่องมือประดิษฐ์  เช่น นักปั้น  ช่างแก้รถ ยนตร์  ศัลยแพทย์  ปัญญาด้านนี้ รวมถึง ทักษะทาง กาย เช่นความคล่องแคล่ว  ความแข็งแรง ความรวดเร็ว ความยืดหยุ่น ความประณีต และความทางประสาทสัมผัส
5. )ปัญญา ทางด้านดนตรี (Musical  lnterlligence)คือมีความสามารถ สูงทางด้าน ดนตรี    ได้แก่ นักดนตรี นักแต่งเพลง นักวิจารณ์ ดนตรี ปัญญาทางด้านนี้ รวมถึง ความไวในเรื่องของจังหวะ  ทำนองเสียง  ตลอดจนความสามารถ ในการเข้าใจและวิเคราะห์ดนตรี
6.)ปัญญาทางด้านมนุษย์สัมพันธ์(Interpersonal  lntelligence)คือมีความสามารถสูงในการเข้าใจ  อารมณ์  ความรู้สึก ความคิดและเจตนาของผู้อื่นทั้งนี้รวมถึงมีความไวในการสัง เกต   น้ำเสียง ใบหน้า ท่าทาง ทั้งยังมีความสามารถสูงในการรู้ถึง ลักษณะต่างๆของสัมพันธ์ภาพของมนุษย์ และความสามารถตอบสนองได้เหมาะสม และมีประสิทธภาพ เช่น  สามารถทำให้บุคคลหรือกลุ่ม บุคคล ปฎิบัติตาม
7. )ปัญญาทางด้านตนหรือการเข้าใจตนเอง (lntrapersonal lntelligence)คือมีความสามารถสูงในการรู้จักตนเอง  และสามารถประพฤติตนได้ จากความรู้จักตนนี้  ความสามารถในการรู้จักตนได้แก่  รู้จักจุดอ่อนตามความเป็นจริง เช่น มีจุดอ่อน  จุดแข็งเรื่องใด  มีความรู้เท่าทันอารมณ์ ความคิด  ความปรารถนาของตน มีความสามารถที่จะฝึกตนเอง   เข้าใจตนเองและความนับถือตนเอง


                                                            อ้างอิง

ผู้แต่ง อาร์สตรอง,โธมัส.
ชื่อเรื่อง  พหุปัญญาในห้องเรียน:วิธีการสอนเพื่อพัฒนาปัญญาหลายด้าน
กรุงเทพฯ:ศูนย์พัฒนาหนังสือ  กรมวิชาการ, 2542


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น